4 อย่างที่ HR รุ่นใหม่ ในยุคดิจิทัล จำเป็นต้องรู้ - EngineerJob.co
Human Resource คือตำแหน่งหน้าที่ซึ่งเกี่ยวข้องกับคนทั้งบริษัท ตั้งแต่การรับคนเข้ามาทำงาน ไปจนถึงการประเมินผลของพนักงานแต่ละคน ซึ่งในยุคนี้ สิ่งที่เหล่า HR ต้องการคือ คนที่เหมาะสม การฝึกฝนพัฒนาทักษะ ผลตอบรับจากลูกค้า พวกเขาจึงต้องมีทั้งความเด็ดขาดและความยืดหยุ่นในเวลาเดียวกัน เรามาลองแอบสืบดูกันดีกว่า ว่า HR ยุคใหม่นี้ เขาโฟกัสกันที่อะไรบ้าง
1. โฟกัสที่ประสบการณ์ของลูกจ้าง
อัตราความเติบโตของชาวมิลเลเนียน มีอิทธิพลต่อการเข้าสู่ยุคดิจิตอลอย่างชัดเจนยิ่งขึ้น ลูกจ้างมีความคาดหวังต่อความน่าสนใจและความสนุกของการได้ประสบการณ์จากการทำงานมากขึ้น ฉะนั้น ผู้เป็นหัวหน้างานจะโฟกัสที่การ “พัฒนาประสบการณ์” ของลูกจ้างมากขึ้น บรรยากาศการทำงานจึงประกอบด้วย 3 มิติ คือ: ความดึงดูด, วัฒนธรรม และ ความสามารถในการจัดการ
มุมมองที่เปลี่ยนไปนี้ ทำให้หัวหน้างานต้องตรวจสอบขั้นตอนการทำงานของลูกจ้าง และเพิ่มประสิทธิภาพในจุดนั้น แถมยังเป็นช่วงเวลาสุดตื่นเต้นที่ HR จะได้ทดลองการตลาดกับเทคโนโลยี ทั้งเครื่องมือการตรวจสอบผลตอบรับ, แอปฯ สุขภาพของลูกจ้าง, การสื่อสารสมัยใหม่ และเครื่องมือการผลิต ช่วยให้สะดวกในการทำความเข้าใจและพัฒนาประสบการณ์ของลูกจ้างได้อย่างครอบคลุม
2. การทำงาน HR แบบดิจิตอล
สิ่งที่ช่วยวิเคราะห์ความก้าวหน้าในประสบการณ์ทำงานของลูกจ้าง คือการตรวจสอบผ่านระบบดิจิตอลของที่ทำงานนี่แหละ อุปกรณ์อัจฉริยะที่ได้รับการพัฒนาขึ้น ช่วยในการรับสมัคร, ลดค่าใช้จ่าย และรับผู้สมัครได้ตรงเป้ามากขึ้น
“HR organizations now have to learn how to ‘be digital,’ not just ‘buy digital products.’” กล่าวโดย Josh Bersin ที่ชี้ให้เห็นความสำคัญของงาน HR ในยุคที่เทคโนโลยีก้าวหน้าอย่างมาก และในเทรนด์ใหม่นี้เอง กำลังโดดเด่นอย่างเห็นได้ชัดขึ้นเรื่อยๆในหลายองค์กร สำหรับในเอเชียเทรนด์นี้กำลังอยู่ในช่วงสร้างตัว จึงเป็นโอกาสให้ผู้ที่สามารถเรียนรู้ได้ไวกว่า สามารถพัฒนาองค์กรได้มากกว่านั่นเอง
3. การรับคนที่เหมาะสมกับโครงสร้างองค์กร
ตอนนี้ การวิเคราะห์คนกลายเป็นธุรกิจอย่างหนึ่งไปแล้ว และในปีนี้ หลายองค์กรเริ่มพัฒนาฟังก์ชั่นการวิเคราะห์บุคคลมากขึ้น เนื่องจากสามารถจำกัดจำนวนคนและคุณสมบัติของพนักงานที่จะรับ อีกทั้งยังจัดเก็บและเรียงข้อมูลตามหมวดหมู่ได้อย่างรวดเร็ว แถมมีความปลอดภัยอีกด้วย
ตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นไป เราจะได้เห็นหลายบริษัทก้าวเข้าสู่การใช้งานฐานข้อมูลเหล่านี้ แต่นี่ยังเป็นเพียงก้าวแรกเท่านั้น ความสำเร็จจะต้องใช้เวลาและการลงทุนในระยะยาวอย่างมั่นคง จึงจะเห็นผลอย่างชัดเจนได้
4. Gig Economy คือนิยามใหม่ของที่ทำงาน
BBC ให้ความหมายของ Gig Economy ไว้ว่า “ลักษณะของตลาดแรงงานที่มีการใช้สัญญาระยะสั้น หรือการจ้างงานฟรีแลนซ์” ซึ่งถือเป็นการหาคนทำงานได้ตรงตามความต้องการ ในราคาที่น้อยกว่า และผู้รับจ้างเหล่านี้ จะมีการแข่งขันด้านการพัฒนาทักษะกันค่อนข้างสูง รวมถึงความรวดเร็วในการทำงานด้วย เพื่อความน่าเชื่อถือในการรับงาน
จากผลการวิจัยพบว่า ผู้คนเริ่มหันมาทำธุรกิจแนวนี้เพิ่มขึ้นเป็น 44% จาก 39% ในปี 2012 ซึ่งการทำงานแบบยืดหยุ่นนี้ สามารถช่วยให้ลูกจ้างสามารถพัฒนาทักษะการทำงาน และเห็นคุณค่าของงานที่ทำมากขึ้นด้วย
เทรนด์เหล่านี้ ช่วยให้บรรยากาศในที่ทำงานดีขึ้นสำหรับทุกฝ่าย ในขณะที่บริษัทถูกท้าทายในการสร้างสวรรค์ในที่ทำงานให้เกิดขึ้นจริง ผลพลอยได้ที่จะได้รับในระหว่างทาง คงเป็นผลผลิตที่เพิ่มขึ้นและลูกจ้างที่ให้ความภักดียิ่งขึ้นนั่นเอง
Source: Forbes, Chee Tung Leong
Image: Designed by Freepik