10 ข้อผิดพลาด ในการสัมภาษณ์งาน ที่วิศวกรบางคนอาจลืมตัว
ในการสัมภาษณ์หลายครั้งเราอาจะทำพลาดโดยไม่รู้ตัว แล้วมันก็ทำให้เราพลาดตำแหน่งที่ต้องการไป ฉะนั้น วิธีป้องกันความผิดพลาดที่ดีที่สุดคือ คิดล่วงหน้าว่าพฤติกรรมใดบ้างที่จะทำให้เราพลาดโอกาสดีๆ และนี่คือ 10 อันดับความผิดพลาดยอดนิยม ที่บางครั้งเราอาจมองข้ามเพราะคิดว่ามันเป็นเรื่องเล็กๆน้อยๆ 1. การโกหก บางครั้งเราอาจจะแค่แต่งเติมเรื่องเพื่อให้คนที่สัมภาษณ์สนใจในตัวเรา แต่รู้ไว้เลยว่ามันไม่ได้ผลหรอก! อย่างไรเสีย หากเราทำไม่ได้อย่างที่พูด สักวันหัวหน้าหรือคนในองค์กรก็ต้องทราบอยู่ดี ตรงกับสำนวนไทยที่ว่า “ช้างตายทั้งตัว เอาใบบัวปิดไม่มิด” นั่นแหละ 2. นินทาเจ้านายเก่า คุณอาจจะเปลี่ยนงานเพราะที่ทำงานเดิมทำไม่ดีกับคุณไว้ แต่สำหรับการสัมภาษณ์เพื่อเข้าทำงานที่ใหม่นั้น ไม่ใช่เวลามานั่งฟังคุณรำลึกอดีต แต่เป็นการฟังทัศนคติในด้านการทำงานของคุณ ยิ่งมีพฤติกรรมแบบนี้ มันยิ่งแสดงว่าคุณปรับตัวเพื่อทำงานร่วมกับผู้อื่นไม่ได้ ฉะนั้น แทนที่จะอ้างอิงเปรียบเทียบว่าการทำงานของคนนั้นไม่ดี คนนี้ไม่โอเค เราควรสื่อถึงคติมาตรฐานในการทำงานส่วนตัวจะดีกว่า 3. ทำตัวหยาบคาย แบบไหนที่เรียกว่าหยาบคาย? จริงๆมันขึ้นอยู่กับคนฟังว่าเขาจะอ่อนไหวกับเรื่องแบบไหนบ้าง เช่น ทำตัวสนิทสนมมากเกินไป ควรวางตัวให้สุภาพและเป็นกันเองก็พอ แต่ถ้าหากเผลอทำไปแล้ว ให้รีบขอโทษเขาด้วยความรู้สึกที่แท้จริง ไม่เช่นมันจะส่งผลต่อการสอบสัมภาษณ์นี้ทันที 4. บ่นไร้สาระ ก่อนมาถึงคุณอาจเจอรถติดจาอุบัติเหตุ หรือมนุษย์ป้าหน้ารถเมล์อยู่ดีๆก็มาตะคอกใส่คุณ คำถามคือ ผู้สัมภาษณ์เขาต้องการทราบไหม? หากหลุดออกมาสักนิดหน่อยมันอาจจะไม่มีผล หรือ เขาอาจจะเปลี่ยนไปสัมภาษณ์คนอื่นทันที อย่า! ให้คำบ่นหลุดออกมา แม้แต่น้ำเสียงก็ตาม 5. […]
4 อย่างที่ HR รุ่นใหม่ ในยุคดิจิทัล จำเป็นต้องรู้
Human Resource คือตำแหน่งหน้าที่ซึ่งเกี่ยวข้องกับคนทั้งบริษัท ตั้งแต่การรับคนเข้ามาทำงาน ไปจนถึงการประเมินผลของพนักงานแต่ละคน ซึ่งในยุคนี้ สิ่งที่เหล่า HR ต้องการคือ คนที่เหมาะสม การฝึกฝนพัฒนาทักษะ ผลตอบรับจากลูกค้า พวกเขาจึงต้องมีทั้งความเด็ดขาดและความยืดหยุ่นในเวลาเดียวกัน เรามาลองแอบสืบดูกันดีกว่า ว่า HR ยุคใหม่นี้ เขาโฟกัสกันที่อะไรบ้าง 1. โฟกัสที่ประสบการณ์ของลูกจ้าง อัตราความเติบโตของชาวมิลเลเนียน มีอิทธิพลต่อการเข้าสู่ยุคดิจิตอลอย่างชัดเจนยิ่งขึ้น ลูกจ้างมีความคาดหวังต่อความน่าสนใจและความสนุกของการได้ประสบการณ์จากการทำงานมากขึ้น ฉะนั้น ผู้เป็นหัวหน้างานจะโฟกัสที่การ “พัฒนาประสบการณ์” ของลูกจ้างมากขึ้น บรรยากาศการทำงานจึงประกอบด้วย 3 มิติ คือ: ความดึงดูด, วัฒนธรรม และ ความสามารถในการจัดการ มุมมองที่เปลี่ยนไปนี้ ทำให้หัวหน้างานต้องตรวจสอบขั้นตอนการทำงานของลูกจ้าง และเพิ่มประสิทธิภาพในจุดนั้น แถมยังเป็นช่วงเวลาสุดตื่นเต้นที่ HR จะได้ทดลองการตลาดกับเทคโนโลยี ทั้งเครื่องมือการตรวจสอบผลตอบรับ, แอปฯ สุขภาพของลูกจ้าง, การสื่อสารสมัยใหม่ และเครื่องมือการผลิต ช่วยให้สะดวกในการทำความเข้าใจและพัฒนาประสบการณ์ของลูกจ้างได้อย่างครอบคลุม 2. การทำงาน HR แบบดิจิตอล สิ่งที่ช่วยวิเคราะห์ความก้าวหน้าในประสบการณ์ทำงานของลูกจ้าง คือการตรวจสอบผ่านระบบดิจิตอลของที่ทำงานนี่แหละ อุปกรณ์อัจฉริยะที่ได้รับการพัฒนาขึ้น ช่วยในการรับสมัคร, […]
4 ขั้นตอน ในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สำหรับวิศวกร
ทักษะการแก้ปัญหา เป็นหนึ่งใน Soft Skills ที่สำคัญที่สุด เป็นทักษะที่วิศวกรทุกคน ทุกตำแหน่ง และทุกระดับงานจำเป็นต้องมี เพราะไม่ว่าจะงานอะไรก็จะมีปัญหาอยู่ตลอดเวลา ซึ่งปัญหาเป็นอะไรที่ไม่มีใครอยากให้เกิด และไม่มีใครรู้ว่ามันจะเกิดเมื่อไหร่ ดังนั้นการเตรียมพร้อมในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบนั้นสำคัญมาก แต่ใช่ว่าทุกคนจะทำได้ดี หลายๆ คนมักคิดว่าการแก้ปัญหาไม่ใช่เรื่องยาก เวลาได้โจทย์งานยากๆ มา หรือตอนเรียนเจอข้อสอบยากๆ ยังสามารถแก้ปัญหาได้ง่ายๆ ชีวิตงานจริงๆ มันไม่ใช่แค่นั้น เพราะปัญหาจริงๆ ไม่มีโจทย์ให้ ไม่มีอะไรให้เลย จนบางทีเราไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าตอนนี้มีปัญหาเกิดอยู่หรือเปล่า ทำให้เกิดการนิ่งเฉยและส่งผลให้เกิดหายนะได้ หรือบางทีเราอาจเจอหลายๆ ปัญหาพร้อมกัน จนไม่รู้ว่าอะไรต้องแก้ก่อน แก้หลัง หลายๆ ครั้งทำให้การแก้ปัญหานั้น ไม่ตรงจุด Problem Solving Process หรือขั้นตอนในการแก้ปัญหาจริงๆ แล้วมีหลายขั้นตอน แต่บทความนี้จะสรุปมา 4 ขั้นตอนหลักๆ เพื่อให้ง่ายต่อการมององค์ประกอบรวมๆ 4 ขั้นตอนในการแก้ปัญหาอยากเป็นระบบ 1. ระบุปัญหา (Identify The Problem) ก่อนอื่นเราต้องหาให้ได้ก่อนว่าอะไรคือจุดกำเนิดของปัญหานั้นๆ โดยใช้ข้อมูลที่ผ่านมาทำการวิเคราะห์ หรือใช้ทักษะการสังเกตสิ่งรอบๆ ตัวหรือสิ่งที่ไม่ปกติ บางทีจุดกำเนิดของปัญหาอาจจะมาทั้งจากคนหรือจากเครื่องจักร เช่น […]
6 Soft Skills ที่จำเป็นที่สุด สำหรับวิศวกร
Soft Skills คือความสามารถที่เป็น Non-Technical Skills ซึ่งเป็นตัวเสริมความสามารถด้าน Techinical Skills (AutoCAD, Aspen Plus, C++) หรือเรียกว่า Hard Skills ของคุณให้เด่นยิ่งขึ้น หากใครยังไม่ค่อยเข้าใจว่าคืออะไร ให้ลองไปอ่านบทความก่อนหน้านี้ Soft Skills คืออะไร? ทำไมถึงสำคัญต่อสายงานวิศวกรรม? หากวิศวกรมีความสามารถที่เป็น Hard Skills อย่างเดียวโดยที่ไม่มีความสามารถด้าน Soft Skills เลย ก็จะยากต่อการเติบโตในสายงานนั้นๆ เพราะมันคือความสามารถที่จำเป็นมากๆ สำหรับตำแหน่งที่มีการบริหารด้านคนและโปรเจคเข้ามาเกี่ยวข้อง เราจึงสรุปมาให้ 6 Soft Skills ที่สำคัญ และจำเป็นที่สุดสำหรับวิศวกร แต่ละอย่างคืออะไร และสำคัญอย่างไร ไปลองดูกัน 1. Problem Solving การแก้ไขปัญหาเป็นสิ่งสำคัญสำหรับวิศวกร จริงอยู่ว่าใครๆ ก็แก้ปัญหาได้ แต่ไม่ใช่ทุกคนที่ “แก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ” ยิ่งไปกว่านั้น บางคนไม่รู้ด้วยซ้ำว่าปัญหาจริงๆ คืออะไร จึงทำให้เกิดการแก้ปัญหาที่ ไม่ตรงจุด การแก้ไขปัญหาที่ดีนั้นควรจะสรุปออกมาให้ได้ก่อนว่าปัญหาจริงๆ คืออะไร […]
EngineerJob ช่วยวิศวกรหางานได้อย่างไร?
ดูเผินๆ เว็บไซต์ EngineerJob.co อาจดูเหมือนเว็บหางานทั่วๆ ไป แต่จริงๆ แล้วเราไม่ใช่แค่เว็บที่ให้บริษัทมาโพสต์งานอย่างเดียว เพราะระบบของเรานั้นออกแบบมาบนแนวคิดที่ว่า “ให้วิศกรได้ทำงานที่ตัวเองชอบ และก้าวหน้าในสายงานที่ตัวเองรัก” และสิ่งที่เราเป็นมากกว่าเว็บหางานคือ เราเป็น “Community งานสำหรับวิศวกร” ดังนั้นเราจึงมีอะไรเจ๋งๆ กว่าเว็บหางานทั่วไป มาลองดูกันว่าการทำงานของเว็บไซต์เราจะช่วยให้คุณได้งานได้อย่างไร (ข้อความจากใจพวกเราถึงสมาชิกทุกคนอยู่ด้านล่าง) 1. โปรไฟล์ผู้เชี่ยวชาญบน EngineerJob หลังจากได้ ลงทะเบียน เรียบร้อยแล้ว ระบบจะให้คุณ สร้างโปรไฟล์ เพื่อกรอกข้อมูลส่วนตัว และความสามารถเฉพาะทาง ใช้เวลาไม่นานแน่นอน เพียงเท่านี้ระบบของเราก็จะรู้จักคุณมากขึ้น และสามารถนำเสนอความสามารถของคุณไปยังบริษัทชั้นนำที่กำลังมองหาวิศวกรเข้าร่วมทีม โปรไฟล์นี้จะไม่แสดงต่อสาธารณะ เฉพาะบริษัทที่ได้รับการตรวจสอบเท่านั้นจึงจะเข้าถึงโปรไฟล์วิศวกรได้ *** หากใครอยากสร้างโปรไฟล์ แต่ไม่ว่างจริงๆ ทีมงานเราพร้อมช่วยเหลือ เพียงแค่อัพโหลดไฟล์เรซูเม่ ที่นี่ ทีมงานเราจะช่วยดึงข้อมูลมาไว้บนโปรไฟล์ให้เอง 2. รับคำปรึกษาฟรีจากทีมพี่ๆ วิศวกรของพวกเรา เมื่อคุณสร้างโปรไฟล์เรียบร้อยแล้ว ทีมงานของเราจะช่วยตรวจสอบดูความเรียบร้อยอีกครั้ง เพื่อให้มั่นใจว่าคุณเป็น Professional ในสายตากว่า 100 บริษัทใน Community ของเรา หากมีอะไรที่สามารถทำให้ดีขึ้นได้ เราจะอีเมลไปหาคุณเพื่อให้คำแนะนำ 3. รอให้งานเข้ามาหาคุณ เพื่อให้ไม่พลาดโอกาสดีๆ เรารู้ว่าเพื่อนๆ วิศวกรแต่ละคนงานยุ่ง ไม่มีเวลาเข้ามาดูงานใหม่ทุกๆ วัน เราจึงมีระบบ EngineerMatch ซึ่งเป็นระบบแนะนำวิศวกรไปยังบริษัท ระบบนี้จะนำเสนอความสามารถของคุณที่ได้ระบุบนโปรไฟล์ไปยังบริษัทที่กำลังมองหาคนที่มีความสามารถให้ใกล้เคียงกับคุณที่สุด หากบริษัทสนใจก็จะติดต่อตรงไปที่ผู้สมัคร พร้อมนัดสัมภาษณ์ในขั้นตอนต่อไป 4. […]
Soft Skills คืออะไร? ทำไมถึงสำคัญต่อสายงานวิศวกรรม?
ความสามารถแบ่งได้หลักๆ เป็น 2 แบบ Hard Skills และ Soft Skills Hard Skills คือความรู้และความสามารถที่เกิดจากการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ เช่น Technical Skills (AutoCAD, Aspen Plus, C++) ความเชี่ยวชาญเนื้อหาที่เคยเรียนในมหาวิทยาลัย หรือจากประสบการณ์ในการทำงานในแต่ละด้าน ซึ่งความสามารถเหล่านี้สามารถพูดคุยด้วยไม่กี่นาที หรือเปิดเรซูเม่ดู ก็สามารถรู้ได้แล้วเบื้องต้นว่าคุณมีความสามารถหรือไม่ Soft Skills คือความสามารถที่เป็น Non-Technical Skills เช่น ความสามารถในการ… ทำงานเป็นทีม (Teamwork) แก้ไขปัญหา (Problem Solving) การตัดสินใจ (Decision Making) ความเป็นผู้นำ (Leadership) การสื่อสาร (Communication) เป็นต้น Soft Skills มีผลหลักๆ มาจากแนวคิด ทัศนคติ และลักษณะนิสัยของแต่ละบุคคล ไม่สามารถสร้างได้ในเวลาสั้นๆ ต้องใช้เวลาในการเรียนรู้ และนำมาปรับใช้ ซึ่งความสามารถเหล่านี้เป็นตัว ส่งเสริม Hard Skills เพื่อทำให้คุณมีความเป็น Professional ยิ่งขึ้น และเติบโตขึ้นในสายงาน ยกตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพง่ายๆ: […]
ได้เลื่อนตำแหน่ง แต่เงินเดือนเท่าเดิม ควรทำไงดี?
หากวันหนึ่งคุณได้รับข่าวดีว่า “ได้เลื่อนตำแหน่งนะ” ก็คงจะน่าตื่นเต้นที่จะได้รับบทบาทและความรับผิดชอบที่ใหญ่ขึ้นในองค์กร แต่หากตำแหน่งนั้นมาพร้อมเงื่อนไขที่ว่า ไม่ได้รับเงินเดือนเพิ่มล่ะ คุณจะทำอย่างไร? จากผลสำรวจของบริษัทให้คำปรึกษา Korn Ferry พบว่าพนักงานประมาณ 63% ยินดีที่จะรับตำแหน่งที่สูงขึ้นด้วยเงินเดือนเท่าเดิม มากกว่าการอยู่ตำแหน่งเดิมแต่เงินเดินเพิ่มขึ้น! ไม่ว่าคุณจะพอใจหรือไม่พอใจก็ตาม นี่คือ 3 วิธีในการรับมือกับเหตุการณ์นี้ให้เหมาะสม รอโอกาสที่รายได้น่าจะเพิ่มในอนาคต บางบริษัทอาจไม่ให้ผลตอบแทนเป็นจำนวนเงินเดือนที่มากขึ้นตามตำแหน่ง แต่อาจเป็นโบนัสประจำปีที่เพิ่มขึ้น หรืออนาคตคุณอาจได้รับหุ้นของบริษัทก็เป็นได้ ลองคิดถึงความเป็นไปได้ดูว่าสิ่งนี้จะเป็นไปได้หรือไม่ หากไม่ (และถ้าคุณกล้าพอ) ควรแสดงให้เห็นจุดยืนในเป้าหมายของตำแหน่งงานของคุณ เช่น ใน 1 ปีแรก คุณมีแผนว่าต้องทำโครงการทั้งหมด 3 โครงการ และถ้าหากสำเร็จตามเป้า คุณเห็นว่าตัวเองควรจะได้ค่าตอบแทนเพิ่ม แต่ถ้าคุณไม่กล้าพอ ก็จงตั้งใจทำหน้าที่ใหม่ให้เต็มที่ แล้วเมื่อมีเวลาว่างค่อยลองคุยกับหัวหน้า ถามเนียนๆ เกี่ยวกับโบนัสว่ามีโอกาศที่จะเพิ่มขึ้นบ้างไหม แล้วถ้าคุณทำงานได้ตรงเป้า คุณจะได้เพิ่มบ้างไหม ถามแบบที่เล่นทีจริง ใช้ตำแหน่งนี้ประกอบเรซูเม่ สมัยนี้การที่บริษัทให้ตำแหน่งแก่พนักงานโดยไม่เพิ่มเงินเดือน กลายเป็นไอเดียที่นิยมในการเปิดตำแหน่งงานใหม่โดยประหยัดงบบริษัท ซึ่งถ้าบริษัทต้องการจะประหยัดงบ แน่นอนว่าโบนัสอะไรก็คงไม่น่าจะได้เพิ่ม คำแนะนำในกรณีนี้คือ ให้เรารับตำแหน่งเพื่อเก็บเกี่ยวทักษะและประสบการณ์ให้มากที่สุด แล้วนำมาใช้เป็นคุณสมบัติในการหางานใหม่ เมื่อเรามีคุณสมบัติที่สูงพอ เคยผ่านงานในตำแหน่งที่รับผิดชอบมากพอ งานในฝันและค่าตอบแทนที่เหมาะสมจะเข้ามาหาเราเอง ยังไงก็จะขอข้อต่อรองเงินเดือน บางคนใจร้อน และคิดว่ายังไงตัวเองก็ควรได้รับเงินเดือนเพิ่ม หากคุณเป็นคนประเภทนี้ หลังจากได้รับตำแหน่งแล้ว หาจังหวะดีๆ […]
วิศวกรที่ “พูดไม่ค่อยเก่ง” ใช้ 5 เทคนิคนี้ในการสัมภาษณ์งาน
พูดไม่เก่งไม่เป็นไร พูดให้เข้าใจก็เกินพอ เพราะการทำงานจริงๆ ไม่จำเป็นต้องพูดเก่ง พูดน้อยๆ แต่พูดให้รู้เรื่อง และตรงประเด็นเป็นสิ่งที่สำคัญกว่า แต่ถ้าตัวเองเป็นวิศวกรขี้อาย ไม่มั่นใจในตัวเอง ถึงเวลาสัมภาษณ์ที่ไรมือสั่น เหงือแตกทุกที ลองใช้วิธีนี้ช่วยเพิ่มความมั่นใจในตอนสัมภาษณ์ดู 1. คุยกับตัวเองบ่อยๆ อาจฟังดูเหมือนคนบ้า แต่วิธีนี้ช่วยได้ ลองตั้งคำถามเอง ตอบเอง พูดออกมาให้เต็มเสียง อย่าพูดในใจ.. แต่ห้ามจำเป็น Pattern เด็ดขาด เพราะตอนสัมภาษณ์จริงๆ จะยิ่งทำให้คุณรนหากตอบไม่ตรง Pattern ที่เตรียมเอาไว้ เพราะฉนั้นเวลาซ้อมก็ตอบออกมาเลย ไม่ต้องคิดเยอะ ลองลิสต์เป็น Bullet ในหัวว่าจะพูดอะไร ดูแต่หัวข้อพอ ส่วนเนื้อหาคิดยังไงก็พูดไปอย่างนั้น ตรงไหนลืมพูดก็ข้ามแล้วพูดต่อไปเลย ค่อยแก้ไขรอบต่อไป 2. ฝึกการขยายความ หลายคนเวลามาสัมภาษณ์งานตอบคำถามแบบถามคำตอบคำ เช่น HR: โปรเจคที่แสดงถึงความสำเร็จของคุณในที่ทำงานเก่าคืออะไรครับ? วิศวกร: ลดต้นทุนการผลิตไปได้ 15% จากปีก่อนหน้านี้ ถ้าจะให้ดี ลองขยายความออกไปต่อ เช่น วิศวกร: ลดต้นทุนการผลิตไปได้ 15% จากปีก่อนหน้านี้ เนื่องจากที่ผมและทีมได้นำเทคโนโลยีในการจัดการวัตถุดิบมาใช้ควบคุมจำนวนวัตถุดิบที่บริษัทสั่งเข้ามาได้มีประสิทธิภาพกว่าเดิม ทำให้ไม่ไม่มีวัตถุดิบเหลือค้าง Stock เหมือนปีก่อนๆ 3. […]
วิศวกรจบใหม่ เรียกเงินเดือนเท่าไหร่ดี
ทุกวันนี้ค่าครองชีพสูงขึ้นเรื่อยๆ ค่าใช้จ่ายต่อวันก็สูงขึ้นไปตามๆ กัน ไม่ว่าจะเป็นค่าเดินทาง ค่ากิน ค่าสังคมต่างๆ น้องๆ จบใหม่หลายคนบ่นว่าเงินเก็บแต่ละเดือนน้อยมาก ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้ก็ขึ้นอยู่ว่าคุณทำงานแถวไหน หลักๆ ก็จะแบ่งได้ 3 ส่วนใหญ่ ออฟฟิศในกรุงเทพฯ โรงงาน หรือตามนิคมอุตสาหกรรมรอบๆ กรุงเทพ เช่นปทุมธานี บางพลี เป็นต้น โรงงาน หรือตามนิคมอุตสาหกรรมต่างจังหวัด เช่นแถบระยอง หากทำในกรุงเทพฯ แน่นอนว่าค่าอยู่ ค่ากินก็สูงขึ้น หากทำนอกเมืองก็จะต่ำลง เงินเดือนที่ได้ก็จะขึ้นอยู่กับปัจจัยเหล่านี้ด้วย แต่ก็ยังมีอีกหลายปัจจัยในการเรียกเงินเดือนสำหรับวิศวกรจบใหม่อีกเช่นกัน.. ฐานเงินเดือนวิศวกรจบใหม่ การเรียกเงินเดือนมันก็คือ Demand/Supply ง่ายๆ นี่แหละ หากคุณมีความสามารถพอ คุณก็สามารถที่จะเรียกสูงได้ หากคุณรู้ตัวว่าคุณมีไม่เท่าคนอื่น เช่นภาษาอังกฤษอาจจะไม่ถนัดเท่าอีกคน ก็ต้องยอมรับในส่วนนี้ เพราะฉนั้นข้อมูลส่วนตัวเกี่ยวกับคุณ โปรเจคที่เคยทำที่มหาวิทยาลัย คะแนนสอบ หรือความรู้ในวิชาต่างๆ จะเป็นปัจจัยหลักในการพิจารณาเบื้องต้นก่อนสัมภาษณ์ ทาง EngineerJob.co ได้ลองสอบถามผู้ประกอบการบางส่วน และเพื่อนๆ วิศวกรที่เคยทำหน้าที่รับนักศึกษาจบใหม่เข้าทำงาน 60% ดูจากผลการศึกษา และโปรเจคในรั้วมหาวิทยาลัย ในส่วนนี้จะบอกได้ว่าวิศวกรจบใหม่มี ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ขนาดไหน 20% ประสบการณ์นอกเวลาเรียน ไม่ว่าจะเป็นงานเสริม หรือคอร์สอบรมต่างๆ ที่ผู้สมัครเคยเข้าร่วม […]
เคล็ดลับในการโน้มน้าวหัวหน้า ให้ได้เลื่อนตำแหน่งงานที่สูงขึ้น
การนั่งเฉยๆ ไปวันๆ หวังว่าสักวันหัวหน้าจะพิจารณาเลื่อนตำแหน่งคงไม่ใช่เรื่องง่ายในชีวิตจริง มันต้องทำอะไรสักอย่าง ที่จะให้ความสามารถของเราเข้าตาหัวหน้า แต่บางทีก็ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีโอกาสแสดงฝีมือ.. Robin Dreeke Robin Dreeke อดีตเจ้าหน้าที่ FBI และผู้เชี่ยวชาญด้านพฤติกรรมมนุษย์ ได้ให้สำภาษณ์กับ Business Insider เกี่ยวกับวิธีการโน้มน้าวหัวหน้าให้โปรโมทคุณไปในตำแหน่งงานที่สูงกว่า Dreeke บอกว่าหลายๆ คนชอบใช้หลักการโน้มน้าวหัวหน้าโดยเสนอความสามารถของตัวเองว่าคุณเนี่ยแหละคือคนที่เหมาะกับตำแหน่งนั้นที่สุด ซึ่งหากทำเยอะเกินไปมันจะกลายเป็นการขายของซึ่งมันจะทำให้คุณดูไม่ดีเท่าไหร่.. ใครบ้างที่จะชอบนั่งฟังคนขายความสามารถตัวเอง.. แต่จริงๆ แล้วหลักการโน้มน้าว ต้องไม่เป็นไปในลักษณะการขาย แต่เป็นการ “สร้างแรงบันดาลใจ” ในหัวหน้า อาจฟังดูแปลกๆ แต่ได้ผลจริงครับ การจะสร้างแรงบันดาลใจให้ใครสักคนได้คุณต้องรู้ก่อนว่าเป้าหมายของเค้าคืออะไร สิ่งที่เค้าต้องการเป็นแบบไหน ตำแหน่งงานนั้นต้องการค้นที่มีบุคลิก และความสามารถแบบไหน จากนั้นถามตัวเองว่าจะสร้างแรงบันดาลใจอย่างไรให้เค้าต้องการเรา ให้เค้าอยากได้เราไปช่วยงานในตำแหน่งที่สูงขึ้น การสร้างแรงบันดาลใจนั้นไม่ใช้การเข้าไปคุยแบบขายตรง แต่เป็นการ “แสดงให้เห็น” ให้เค้าเห็นว่าคุณคือคนนั้นจริงๆ หากคุณยังไม่มีโอกาสได้แสดงตรงๆ อาจลองใช้เวลาสั้นๆ ไม่กี่วินาทีที่คุณได้คุยกับหัวหน้าตอนไปซื้อกาแฟ หรืออยู่บนลิฟต์ ก็ได้ พูดคุยเกี่ยวกับเรื่องที่จะทำให้เค้าเห็นว่า You are the right man! (เน้นอีกรอบว่าห้ามขายความสามารถตัวเอง เพราะมันน่าเบื่อ) เช่น อาจพูดเรื่องงาน โปรเจค หรือปัญหาที่หัวหน้า หรือบริษัทกำลังเผชิญอยู่ และแสดงความคิดเห็น โดยโฟกัสเนื้อหาความคิดเห็นไปในทางเดียวกันกับเป้าหมายของหัวหน้า ในเรื่องที่หัวหน้าให้ความสำคัญ […]