Articles Posted by Telas Innovation Co., Ltd.

6 วิธีเลือกงาน เมื่อได้งานพร้อมกันหลายที่

เชื่อได้ว่าเป็นปัญหาที่ใครๆ ก็อยากจะเจอ (happy problem) ได้ข้อเสนอมาพร้อมกันหลายๆ บริษัทเป็นเรื่องที่น่ายินดี นั่นหมายความว่าความสามารถ หรือโปรไฟล์ของคุณนั้นเป็นที่ต้องการในตลาดอยู่พอสมควร แต่การเลือกระหว่างงาน 2 บริษัทนั้นก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะมันคือจุดเปลี่ยนที่สำคัญในชีวิตของคุณ เพราะฉนั้นไม่ควรใช้อารมณ์มาเป็นตัวตัดสินใจอย่างเดียว เช่น “บริษัท A เป็น Sponsor รายใหญ่ของประเทศ ไปที่ไหนก็มีแต่โฆษณา แล้วเงินเดือนก็เสนอมาให้สูงกว่าบริษัท B มาก ดังนั้นจึงเลือกบริษัท A…” ลองถอยหลังกลับมาสักนิด คิดช้าๆ แน่นอนว่ามันไม่มีอะไรผิด ไม่มีอะไรถูก แต่อย่างน้อยก็ควรคิดให้ดี และมองจุดหมายในระยะยาว เลยอยากจะแชร์ขั้นตอนที่พวกเราเคยใช้ตอนที่ได้รับข้อเสนอมาพร้อมๆ กัน 2 บริษัท ลองปรับใช้ดูหากรู้สึกว่าเลือกงานไม่ถูก ตัดสินใจไม่ได้ หาข้อมูลของแต่ละบริษัทให้เยอะที่สุด บางคนถามว่าจะไปหาข้อมูลมากจากไหน.. ก่อนที่คุณจะได้รับข้อเสนอ อย่างน้อยก็ต้องมีโอกาสเข้าไปสัมภาษณ์แล้วสักครั้ง และนี่คือช่วงที่คุณสามารถถามเกี่ยวกับสิ่งที่คุณอยากรู้.. อย่าดูแต่ตัวเลขเงินเดือน ให้ลองมองภาพใหญ่ๆ ขององค์กรนั้นๆ ด้วยว่าวัฒนธรรมของเค้าเป็นอย่างไร จะสามารถเข้ากับเค้าได้หรือเปล่า สวัสดิการในระยะยาวโอเคไหม หากคุณเพิ่งเริ่มทำงาน และรู้ตัวว่าคุณคงไม่ได้อยู่บริษัทนี้ไปตลอดจนเกษียณ ลองดูว่าถ้าออกกลางคัน คุณจะได้เงินสะสมไหม ได้เท่าไหร่ (แต่อย่าไปถามบริษัทตรงๆ เด็ดขาด […]

Google ใช้วิธีนี้ให้อิสระกับวิศวกร เป็นจุดเริ่มต้นของไอเดียเปลี่ยนโลก

Eric Schmidt ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) ของ Google ที่ดำรงตำแหน่งในช่วง 2001-2011 ได้ให้สัมภาสณ์กับ Bloomberg เกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์กรของ Google และเปิดเผยความลับของการบริหารทีม “วิศวกร” ที่ Google Eric Schmidt: “Google เน้นในการให้อิสระกับพนักงานมากๆ แทบจะไม่มีกฎเกณฑ์ อิสระจนขนาดที่ว่าเคยมีกลุ่มวิศวกรหอบผ้ามานอนที่บริษัทเต็มพื้นไปหมด! ก็เลยกลายเป็นอีกกฎของ Google ว่าทุกคนสามารถทำอะไรก็ได้ที่ต้องการ แต่ห้ามนอนที่บริษัท!! พนักงานอยากจะเอาสัตว์เลี้ยงมาด้วยก็ได้ แต่ก็ต้องให้มันอยู่เป็นที่เป็นทาง ซึ่งกฎของสัตว์เลี้ยงมีมากกว่ากฎของพนักงานซะอีก (อมยิ้ม)” Bloomberg:  “แล้วเรื่องอาหารฟรีที่เป็นที่พูดถึงอยู่บ่อยๆ ล่ะ? จุดประสงค์ของอาหารฟรีคืออะไรกันแน่?” Eric Schmidt: “เหตุผลสำคัญคือ เรามีไอเดียที่ว่า ครอบครัวกินข้าวด้วยกัน และเราอยากให้บริษัทเป็นเหมือนครอบครัว ซึ่งเราคิดว่าถ้าพนักงานมีอาหารดีๆ ทุกมือ เค้าก็จะได้ใช้เวลากินด้วยกันมากขึ้น ซึ่งการทำงานกันเป็นทีมก็จะดีขึ้นไปด้วย ซึ่ง Google ก็มีอีกหนึ่งคอนเซ็ปเรียกว่า “20% time” ซึ่งจะใช้กับพนักงานหลายๆ ตำแหน่ง โดยเฉพาะวิศวกร [เพิ่มเติม] Larry Page เจ้าของคอนเซ็ปได้กล่าวไว้ว่า เราอยากให้พนักงานใช้เวลา 20% ของเวลา รวมถึงเวลาในการทำโปรเจคต่างๆ คิดเกี่ยวกับอะไรก็ได้ที่เขาคิดว่าจะสร้างประโยชน์ให้ Google ซึ่งคอนเซ็ปนี้คือการให้พื้นที่ในส่วนของความคิดสร้างสรรค์สำหรับนวัตกรรมใหม่ๆ ..หลายๆโปรเจคที่ประสบความสำเร็จของ Google […]

“ความสำเร็จ” คือจุดเริ่มของ “อันตราย” จริงเหรอ?

ความสำเร็จหมายถึงการที่ได้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้ตั้งแต่ต้น เช่น สามารถลดต้นทุนการผลิตของบริษัท เพิ่มกำลังการผลิตเป็น 2 เท่า โดยที่เสียค่าใช้จ่ายน้อยลง หรือ สามารถบริหารโปรเจคให้เสร็จก่อนเวลาที่กำหนด แน่นอนว่าหากคุณสามารถทำหน้าที่ของคุณได้เกินคาด คุณสมควรได้รับคำชม และเป็นที่ปลื้มปิติของผู้บริหารระดับสูง ถือว่าประสบความสำเร็จมากเลยทีเดียว พอถึงจุดนี้.. จุดที่คุณรู้สึกว่านี่คือความสำเร็จ และรู้สึกว่าตัวเองค่อนข้างถนัดพอตัวในงานนั้น หลับตาทำก็ทำได้ นี่แหละคือช่วงเวลาที่อันตรายที่สุดของคนส่วนใหญ่ (ผมไม่ได้บอกว่าทุกคนจะเป็นแบบนี้)… เพราะอะไร? เพราะคุณจะเริ่มมีความมั่นใจสูง จนบางครั้งอาจจะไม่ฟังความเห็นของผู้อื่น หรือผู้ที่ตำแหน่งต่ำกว่า และจะเชื่อในประสบการณ์ที่ตนเองเเคยประสบความสำเร็จมากที่สุด ทุกครั้งที่คุณได้รับฟังไอเดียใหม่ๆ คุณจะปฏิเสธการรับฟังนั้นโดยอัตโนมัติทันที ไม่แม้กระทั่งเปิดโอกาสในการรับฟังความคิดเห็น และเหตุผลต่างๆ นั่นหมายความว่า คุณปฏิเสธที่จะพัฒนา หรือต่อยอดความสำเร็จในอดีตของคุณ เพื่อสิ่งใหม่ๆ ที่อาจจะดีกว่า … เมื่อเวลาผ่านไปนานขึ้น สิ่งต่างๆ จะไม่เกิดการพัฒนา ไม่มีการต่อยอดจากสิ่งดีๆ ที่เคยทำมาในอดีต คุณจะเริ่มยึดติดกับความสำเร็จในอดีต ซึ่งมันไม่ได้ก่อให้เกิดผลดีตัวคุณเองและบริษัทเลยสักนิดเดียว เมื่อเวลาเราประสบความสำเร็จ ก็เหมือนกับเครื่องยนต์ที่เพิ่งสตาร์ทติด หากเราหยุดพัฒนา มันก็คือเครื่องที่สตาร์ทติดแต่วิ่งต่อไปไม่ได้  สิ่งที่เราควรทำหลังจากที่เครื่องยนต์สตาร์ทแล้วคือทำให้มันวิ่งต่อไปได้ เรียนรู้ที่จะให้มันวิ่งเร็วกว่าเดิม ประคองไว้อย่าให้เครื่องดับ หากเจอเพื่อนร่วมทางที่วิ่งช้ากว่า ให้แนะนำ และช่วยให้เขาวิ่งได้เร็วเท่าเรา เพราะสุดท้ายแล้วก็ทำงานด้วยกันเป็นทีม ทั้งองค์กรก็จะพัฒนาร่วมกันอย่างยั่งยืน ซึ่งจะทำให้คุณได้เจอกับความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่กว่าเดิมแน่นอน Image Designed […]

4 อย่างที่ต้องทำ ในอาทิตย์แรกของการทำงาน

อันดับแรกก็ขอแสดงความยินดีสำหรับงานใหม่ด้วย!! ทีนี้ก็มาถึงช่วงที่ “ทำยังไงให้หัวหน้างานรู้สึกว่าเค้าได้ตัดสินใจถูกต้องที่เหลือคุณมาร่วมทีม” เพราะช่วงนี้คุณจะโดนจับตามองเป็นพิเศษอย่างแน่นอน ซึ่งจริงๆ แล้วไม่เกิน 2 อาทิตย์ ระดับหัวหน้างานก็จะเริ่มเดาออกแล้วว่าคุณคือ The Right Choice หรือไม่ และจะนำความสำเร็จมาให้ทีมหรือเปล่า ซึ่งปัจจัยที่เค้าดูไม่ได้มีแค่ความสามารถในการทำงานอย่างเดียว ยังมีเรื่องการพูดคุย การเข้าสังคม บุคลิก แนวคิด หรือแม้กระทั่งการแต่งตัว! 2 อาทิตย์เป็นเวลาไม่นานเลยที่จะชี้ชะตาของคุณในบริษัทใหม่ เพราะฉนั้นก่อนจะไปทำงานวันแรกอย่าลืมมาทบทวนเคล็ดลับนี้อีกทีล่ะ จะได้ไม่พลาด ใจเย็นไว้ก่อน ค่อยเปลี่ยนทีหลัง วันแรกของการทำงานที่ใหม่ไฟก็จะพุ่งกระฉูดเป็นธรรมดา อยากแสดงความสามารถ อยากแสดงว่าคุณสามารถทำให้บริษัทนั้นดีขึ้น ซึ่งจริงๆ แล้วมันก็คือเหตุผลที่เค้าต้อนรับคุณเข้ามาทำงานแหละ.. แต่!! อย่าเพิ่งคึกเกินไปในช่วงอาทิตย์แรก เพราะช่วงอาทิตย์แรกๆ นั้น คุณควรจะเรียนรู้เกี่ยวกับบริษัท และ “ฟัง” ให้เยอะที่สุดเพื่อให้เห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้น หรือระบบการทำงานของบริษัทอย่างชัดเจนยิ่งขึ้น เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสมจึงค่อยเริ่มพัฒนา และเปลี่ยนเปลงบริษัทให้ดีขึ้น อย่ามาคนแรก อย่ากลับคนสุดท้าย คุณอาจคิดว่าการที่จะพิสูจน์ความสามารถ และความขยันของตัวเองคือการมาทำงานคนแรก และกลับคนสุดท้าย หรือเรียกว่ามาเปิดประตู และปิดประตูออฟฟิสเลยทีเดียว แต่การทำงานหนักเกินไปนั้นจะทำให้ผลลัพธ์ออกมาได้ไม่สมบูรณ์ และยังทำให้คุณเหนื่อยเกินไป ช่วงเวลาที่ควรมาและกลับที่ดีที่สุดคือช่วงเวลากลางๆ ไม่ควรกลับบ้านคนแรก และไม่ควรกลับคนสุดท้าย ลองดูว่าคนส่วนใหญ่กลับกันเวลาไหน […]

6 สัญญาณ ที่แสดงถึงทีมวิศวกรที่ไร้คุณภาพ

การทำงานเป็นทีม แน่นอนว่าผลลัพธ์นั้นก็ย่อมมีผลกระทบต่อทุกคนในทีม โดยเฉพาะผู้นำ หรือหัวหน้างาน เพราะจะเป็นตัวชี้ว่าคุณมีคุณสมบัติในการนำลูกทีมได้ดีแค่ไหน และลูกทีมมีความสามารถที่จะร่วมงานกับทีมได้มากแค่ไหน ซึ่งกว่างานจะสำเร็จก็เป็นธรรมดาที่จะต้องเจอปัญหามากมาย หากทีมงานของคุณมีคุณภาพก็จะสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆได้ แต่หากบางทีมที่ยังหาทางออกไม่ได้ก็ไม่ใช่ว่าจะเป็นทีมงานไร้คุณภาพเสมอไป  6 ข้อนี้จะเป็นจุด “Check Point” ข้อบกพร่องที่หลายๆ คนอาจเคยเจอ ซึ่งจะบอกว่าทีมงานของคุณนั้นมีคุณภาพพอหรือไม่.. 6 ต่างคนต่างเดิน ลูกทีมแต่ละคนอาจจะยังมีความคิดเห็นไม่ตรงกัน ซึ่งอาจจะยังไม่เข้าใจถึงจุดประสงค์หลักของงาน หรือมีความคิดเห็นที่แตกต่างไปจากที่หัวหน้าทีมคิด จึงทำให้ไม่มีแรงผลักดันในการทำงานนั้นๆ การที่สมาชิคในทีมไม่เปิดใจรับฟังความเห็นของหัวหน้า หรือหัวหน้าไม่รับฟังความเห็นของลูกทีม เป็นปัญหาหลักของปัญหานี้ ควรเปิดโอกาสให้กันและกัน และหากิจกรรมทำร่วมกันเพื่อจะได้สนิทแล้วเข้าใจกันมากขึ้น 5 ตัดสินใจไม่ได้ หากสมาชิคในทีมยึดติดกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งในขั้นตอนการตัดสินใจมากเกินไป จะทำให้การตัดสินใจไม่เฉียบขาด และไร้ประสิทธิภาพ ซึ่งสิ่งๆ นั้นอาจจะถูกผลักดันมาจากทางหัวหน้าทีมอยู่ซ้ำๆ เช่น “ถ้าพลาดคุณโดนไล่ออกนะ” จึงทำให้ลูกทีมยิ่งเครียด และกลัวที่จะตัดสินใจ อีกสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้ตัดสินใจไม่ได้คือการที่ลูกทีมมีข้อมูลไม่เพียงพอ การเสนอข้อมูลใหม่ๆ หาข้อมูลที่เป็น Secondary Data หรือ Case Study ใหม่ๆ จะทำให้ลูกทีมได้ลองคิดนอกกรอบแทนที่จะย้ำคิดย้ำทำอยู่ในจุดเดิมๆ 4 สื่อสารไม่ได้เรื่อง การสื่อสารนั้นแทบจะถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการทำงานเป็นทีมเลยก็ว่าได้ จุดที่เป็นปัญหาของทีมส่วนใหญ่คือ . สื่อสารมากเกินไป: ในช่วงเวลาประชุม สิ่งที่สำคัญพอๆกับการพูดถึงปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น คือขั้นตอนการการฟัง และคิด หากต่างคนต่างแย่งกันพูด จะทำให้จบการประชุมไม่ลง […]