ทำงานหลายอย่างพร้อมกัน (Multitasking) ยังไงให้มีประสิทธิภาพ
การ ทำงานหลายอย่างพร้อมกัน หรือ Multitasking หากเลี่ยงได้ก็ควรเลี่ยง เพราะจริงๆ แล้ว การทำงานหลายอย่างพร้อมกันอาจทำให้คุณเสียเวลามากกว่าเดิม! แต่ในความเป็นจริง ยิ่งงานในสายงานวิศวกรแบบพวกเราแล้ว อาจเลี่ยงการทำ Multitasking ไม่ได้ แต่มันก็ยังพอมีวิธีที่จะทำให้ Multitasking มีประสิทธิภาพอยู่ แต่ถ้าใครลองแล้วไม่เวิร์ค หรือไม่ถนัด Multitasking ให้หยุดเลยนะครับ อย่าฝืน เพราะปัญหาที่ตามมาอาจจะแย่กว่าที่คุณคิด ยังมี วิธีเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานสำหรับวิศวกร อีกมากมายให้คุณได้ลองนำไปใช้ ทำไมการ ทำงานหลายอย่างพร้อมกัน ไม่ค่อยเวิร์ค มารู้จักสมองของเรากันแบบคร่าวๆ ก่อนดีกว่า นักจิตวิทยา Art Markman บอกว่าโดยธรรมชาติสมองของเราไม่ได้ทำงานแบบ Multitasking อยู่แล้ว แต่สมองของเราจะทำงานแบบ Time-sharing หมายถึงสมองจะทำงานโดยโฟกัสทีละเรื่อง เมื่อเรื่องหนึ่งจบ ก็ค่อยไปโฟกัสอีกเรื่องหนึ่ง แบ่งๆ เวลากันไปในแต่ละเรื่อง การที่เราทำงานแบบ Multitasking คือการสั่งให้สมองเปลี่ยนการโฟกัสอย่างรวดเร็ว ไปๆ มาๆ ซึ่งทำให้สมองทำงานมากขึ้น เสียพลังงานยิ่งขึ้น และสุดท้าย งานของคุณโดยรวมจะไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากสมองจะเริ่มเหนื่อยล้า การทำงานแบบ Multitasking ให้เวิร์ค ไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถจัดการงานหลายอย่างพร้อมกันได้ […]
Project Management คืออะไร มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง?
Project คือโครงการที่ถูกจำกัดด้วยช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น มีเวลาเริ่ม และเวลาจบที่ชัดเจน ยิ่งทำนานเกิดกำหนด ยิ่งหมายความว่าการบริหารโครงการไร้ประสิทธิภาพ.. ทักษะในการบริหารโครงการ หรือ Project Management จึงเป็นสิ่งสำคัญ Project ไม่ใช่งาน Routine ที่ทำไปเรื่อยๆ เหมือนเดิมทุกๆ วัน แต่มันคือการมุ่งมั่นของคนทั้งทีม ที่จะไปถึงเป้าหมายที่ได้กำหนดกันไว้ตั้งแต่แรก เพราะฉนัน ใน 1 โปรเจกต์ อาจไม่ได้มีกลุ่มคนที่มีความสามารถเหมือนกันทุกคน อาจจะมีทั้ง วิศวกรไฟฟ้า วิศวกรโยธา สถาปนิก ฝ่ายการเงิน และอีกมากมาย แต่ไม่ว่าจะมีหน้าที่อะไร ความสามารถอะไร ทุกคนจะมีหนึ่งอย่างเหมือนกันคือ Final Goal Project Management คือการบริหารโครงการ ทั้งเวลา ทั้งทรัพยากรที่มี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องคน เรื่องค่าใช้จ่าย องค์ความรู้ของทีม เครื่องมือ ให้เป็นไปปย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อให้ Final Goal นั้นสำเร็จรุร่วงไปได้ด้วยดี การบริหารโครงการจึงต้องมี Project Manager ที่มีความสามารถด้าน Soft Skill และเชี่ยวชาญด้านการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ […]
4 วิธี ที่ช่วยวิศวกร เพิ่มประสิทธิภาพงาน ให้มีคุณภาพ
ในสมัยนี้การแข่งขันสูงมาก ทั้งในบริษัท และนอกบริษัท งานก็เยอะ แต่ก็มีเทคโนโลยีออกมามากมายที่ช่วยให้พวกเราทำงานได้ง่ายขึ้น อย่างไรก็ตาม หากมีเทคโนโลยี แต่คุณไม่สามารถใช้มันให้เกิดประโยชน์ได้เท่าที่ควร มันก็ไม่ได้ช่วยให้งานออกมามีคุณภาพมากขึ้นเท่าไหร่ การเพิ่มประสิทธิภาพงานจึงมาจากความสามารถส่วนบุคคลซะเป็นส่วนใหญ่ อยู่ที่วิธีคิด วิธีบริหารเวลา และทรัพยากรที่มี ลองมาดู 4 วิธี ที่จะทำให้การทำงานของคุณ และคนในทีมง่ายขึ้น และออกมามีประสิทธิภาพมากขึ้น ความชัดเจน ความชัดเจนสามารถแตกออกไปได้ในหลายๆ เรื่อง ไม่ว่าจะเป็น ความชัดเจนของโปรเจค ความชัดเจนในการสั่งงาน ความชัดเจนในการนำเสนองาน จากประสบการณ์ที่ผ่านมา เคยเจอหัวหน้างานที่สั่งงานไม่ชัดเจน ทำให้คนในทีมก็ไม่รู้ว่าสรุปต้องการอะไรกันแน่ จุดประสงค์คืออะไร ซึ่งทำให้เสียเวลาในการทำงานมาก หากคุณทำงานอยู่ในระดับหัวหน้างาน ให้ทบทวนทุกครั้งก่อนสั่งงานออกไป ว่าจุดประสงค์ และเป้าหมายคืออะไร อะไรเป็นตัวชี้วัดผล ในขณะเดียวกัน คนในทีม หรือน้องๆ ที่เพิ่มเริ่มงานใหม่ ที่ได้รับงานมาจากหัวหน้างาน หลังจากทำงานเสร็จแล้ว ต้องนำเสนอหัวหน้า อย่าลืมความชัดเจนในการนำเสนอ ย้อนจุดประสงค์ และเป้าหมายของงาน หรือโปรเจคให้ชัด และสรุปตบท้ายให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ที่ตั้งเอาไว้ตอนต้น บางคนพูดไป 5 นาที จับใจความอะไรไม่ได้เลย แบบนี้ไม่เอานะครับ แบ่งงานเป็นส่วนๆ ถ้าคุณเป็นวิศวกรซอฟต์แวร์ […]
หยุดทำ 5 สิ่งนี้ หากอยากเป็นวิศวกรที่ Work Smart
ที่เราได้ยินกันมาตั้งแต่เด็กคือ “เรียนเยอะๆ” “อ่านหนังสือเยอะๆ” เพื่อที่จะได้ประสบความสำเร็จ ทำให้พอโตขึ้นมาหลายคนจึงติดนิสัยการทำงานหนัก เพราะเชื่อว่าการทำงานหนัก หรือ การ Work Hard จะส่งผลให้ชีวิต และหน้าที่การงานดีขึ้น ในขณะเดียวกันหลายๆ คน ก็คงเคยได้ยินอีกแนวคิด นั่นคือ Work Smart แปลตรงๆ ก็คือการทำงานอย่างฉลาดนั่นเอง ซึ่งเป็นแนวคิดที่ว่า ทำอย่างไรให้งานมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยใช้เวลา และกำลังน้อยที่สุด หากใครยังคิดอยู่กว่าการ Work Hard คือทางเดียวที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ ลองดูตัวอย่างง่ายๆ นั่นก็คือ Facebook ซึ่งเป็นสตาร์ทอัพเล็กๆ สร้างขึ้นโดยนักศึกษาไม่กี่คน ทำไมถึงเอาชนะบริษัทใหญ่ๆ ได้ ทั้งๆ ที่บริษัทใหญ่ๆ มีเงินเยอะกว่า มีทีมงานเยอะกว่า..? กุญแจสำคัญคือการ Work Smart นั่นเอง คำว่า “การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ” และ “งานยุ่ง” ต่างกันโดยสินเชิง งานยุ่งไม่ได้หมายความว่างานนั้นมีประสิทธิภาพ การทำงานที่มีประสิทธิภาพคือการใช้เวลาน้อย แต่ได้ผลลัพธ์เยอะ ดังนั่น วิศวกรควรหยุดทำ 5 สิ่งนี้ถ้าหากอยากเป็นคนที่ Work Smart […]
6 Soft Skills ที่จำเป็นที่สุด สำหรับวิศวกร
Soft Skills คือความสามารถที่เป็น Non-Technical Skills ซึ่งเป็นตัวเสริมความสามารถด้าน Techinical Skills (AutoCAD, Aspen Plus, C++) หรือเรียกว่า Hard Skills ของคุณให้เด่นยิ่งขึ้น หากใครยังไม่ค่อยเข้าใจว่าคืออะไร ให้ลองไปอ่านบทความก่อนหน้านี้ Soft Skills คืออะไร? ทำไมถึงสำคัญต่อสายงานวิศวกรรม? หากวิศวกรมีความสามารถที่เป็น Hard Skills อย่างเดียวโดยที่ไม่มีความสามารถด้าน Soft Skills เลย ก็จะยากต่อการเติบโตในสายงานนั้นๆ เพราะมันคือความสามารถที่จำเป็นมากๆ สำหรับตำแหน่งที่มีการบริหารด้านคนและโปรเจคเข้ามาเกี่ยวข้อง เราจึงสรุปมาให้ 6 Soft Skills ที่สำคัญ และจำเป็นที่สุดสำหรับวิศวกร แต่ละอย่างคืออะไร และสำคัญอย่างไร ไปลองดูกัน 1. Problem Solving การแก้ไขปัญหาเป็นสิ่งสำคัญสำหรับวิศวกร จริงอยู่ว่าใครๆ ก็แก้ปัญหาได้ แต่ไม่ใช่ทุกคนที่ “แก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ” ยิ่งไปกว่านั้น บางคนไม่รู้ด้วยซ้ำว่าปัญหาจริงๆ คืออะไร จึงทำให้เกิดการแก้ปัญหาที่ ไม่ตรงจุด การแก้ไขปัญหาที่ดีนั้นควรจะสรุปออกมาให้ได้ก่อนว่าปัญหาจริงๆ คืออะไร […]
Soft Skills คืออะไร? ทำไมถึงสำคัญต่อสายงานวิศวกรรม?
ความสามารถแบ่งได้หลักๆ เป็น 2 แบบ Hard Skills และ Soft Skills Hard Skills คือความรู้และความสามารถที่เกิดจากการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ เช่น Technical Skills (AutoCAD, Aspen Plus, C++) ความเชี่ยวชาญเนื้อหาที่เคยเรียนในมหาวิทยาลัย หรือจากประสบการณ์ในการทำงานในแต่ละด้าน ซึ่งความสามารถเหล่านี้สามารถพูดคุยด้วยไม่กี่นาที หรือเปิดเรซูเม่ดู ก็สามารถรู้ได้แล้วเบื้องต้นว่าคุณมีความสามารถหรือไม่ Soft Skills คือความสามารถที่เป็น Non-Technical Skills เช่น ความสามารถในการ… ทำงานเป็นทีม (Teamwork) แก้ไขปัญหา (Problem Solving) การตัดสินใจ (Decision Making) ความเป็นผู้นำ (Leadership) การสื่อสาร (Communication) เป็นต้น Soft Skills มีผลหลักๆ มาจากแนวคิด ทัศนคติ และลักษณะนิสัยของแต่ละบุคคล ไม่สามารถสร้างได้ในเวลาสั้นๆ ต้องใช้เวลาในการเรียนรู้ และนำมาปรับใช้ ซึ่งความสามารถเหล่านี้เป็นตัว ส่งเสริม Hard Skills เพื่อทำให้คุณมีความเป็น Professional ยิ่งขึ้น และเติบโตขึ้นในสายงาน ยกตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพง่ายๆ: […]
วิศวกรที่ “พูดไม่ค่อยเก่ง” ใช้ 5 เทคนิคนี้ในการสัมภาษณ์งาน
พูดไม่เก่งไม่เป็นไร พูดให้เข้าใจก็เกินพอ เพราะการทำงานจริงๆ ไม่จำเป็นต้องพูดเก่ง พูดน้อยๆ แต่พูดให้รู้เรื่อง และตรงประเด็นเป็นสิ่งที่สำคัญกว่า แต่ถ้าตัวเองเป็นวิศวกรขี้อาย ไม่มั่นใจในตัวเอง ถึงเวลาสัมภาษณ์ที่ไรมือสั่น เหงือแตกทุกที ลองใช้วิธีนี้ช่วยเพิ่มความมั่นใจในตอนสัมภาษณ์ดู 1. คุยกับตัวเองบ่อยๆ อาจฟังดูเหมือนคนบ้า แต่วิธีนี้ช่วยได้ ลองตั้งคำถามเอง ตอบเอง พูดออกมาให้เต็มเสียง อย่าพูดในใจ.. แต่ห้ามจำเป็น Pattern เด็ดขาด เพราะตอนสัมภาษณ์จริงๆ จะยิ่งทำให้คุณรนหากตอบไม่ตรง Pattern ที่เตรียมเอาไว้ เพราะฉนั้นเวลาซ้อมก็ตอบออกมาเลย ไม่ต้องคิดเยอะ ลองลิสต์เป็น Bullet ในหัวว่าจะพูดอะไร ดูแต่หัวข้อพอ ส่วนเนื้อหาคิดยังไงก็พูดไปอย่างนั้น ตรงไหนลืมพูดก็ข้ามแล้วพูดต่อไปเลย ค่อยแก้ไขรอบต่อไป 2. ฝึกการขยายความ หลายคนเวลามาสัมภาษณ์งานตอบคำถามแบบถามคำตอบคำ เช่น HR: โปรเจคที่แสดงถึงความสำเร็จของคุณในที่ทำงานเก่าคืออะไรครับ? วิศวกร: ลดต้นทุนการผลิตไปได้ 15% จากปีก่อนหน้านี้ ถ้าจะให้ดี ลองขยายความออกไปต่อ เช่น วิศวกร: ลดต้นทุนการผลิตไปได้ 15% จากปีก่อนหน้านี้ เนื่องจากที่ผมและทีมได้นำเทคโนโลยีในการจัดการวัตถุดิบมาใช้ควบคุมจำนวนวัตถุดิบที่บริษัทสั่งเข้ามาได้มีประสิทธิภาพกว่าเดิม ทำให้ไม่ไม่มีวัตถุดิบเหลือค้าง Stock เหมือนปีก่อนๆ 3. […]
“ความสำเร็จ” คือจุดเริ่มของ “อันตราย” จริงเหรอ?
ความสำเร็จหมายถึงการที่ได้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้ตั้งแต่ต้น เช่น สามารถลดต้นทุนการผลิตของบริษัท เพิ่มกำลังการผลิตเป็น 2 เท่า โดยที่เสียค่าใช้จ่ายน้อยลง หรือ สามารถบริหารโปรเจคให้เสร็จก่อนเวลาที่กำหนด แน่นอนว่าหากคุณสามารถทำหน้าที่ของคุณได้เกินคาด คุณสมควรได้รับคำชม และเป็นที่ปลื้มปิติของผู้บริหารระดับสูง ถือว่าประสบความสำเร็จมากเลยทีเดียว พอถึงจุดนี้.. จุดที่คุณรู้สึกว่านี่คือความสำเร็จ และรู้สึกว่าตัวเองค่อนข้างถนัดพอตัวในงานนั้น หลับตาทำก็ทำได้ นี่แหละคือช่วงเวลาที่อันตรายที่สุดของคนส่วนใหญ่ (ผมไม่ได้บอกว่าทุกคนจะเป็นแบบนี้)… เพราะอะไร? เพราะคุณจะเริ่มมีความมั่นใจสูง จนบางครั้งอาจจะไม่ฟังความเห็นของผู้อื่น หรือผู้ที่ตำแหน่งต่ำกว่า และจะเชื่อในประสบการณ์ที่ตนเองเเคยประสบความสำเร็จมากที่สุด ทุกครั้งที่คุณได้รับฟังไอเดียใหม่ๆ คุณจะปฏิเสธการรับฟังนั้นโดยอัตโนมัติทันที ไม่แม้กระทั่งเปิดโอกาสในการรับฟังความคิดเห็น และเหตุผลต่างๆ นั่นหมายความว่า คุณปฏิเสธที่จะพัฒนา หรือต่อยอดความสำเร็จในอดีตของคุณ เพื่อสิ่งใหม่ๆ ที่อาจจะดีกว่า … เมื่อเวลาผ่านไปนานขึ้น สิ่งต่างๆ จะไม่เกิดการพัฒนา ไม่มีการต่อยอดจากสิ่งดีๆ ที่เคยทำมาในอดีต คุณจะเริ่มยึดติดกับความสำเร็จในอดีต ซึ่งมันไม่ได้ก่อให้เกิดผลดีตัวคุณเองและบริษัทเลยสักนิดเดียว เมื่อเวลาเราประสบความสำเร็จ ก็เหมือนกับเครื่องยนต์ที่เพิ่งสตาร์ทติด หากเราหยุดพัฒนา มันก็คือเครื่องที่สตาร์ทติดแต่วิ่งต่อไปไม่ได้ สิ่งที่เราควรทำหลังจากที่เครื่องยนต์สตาร์ทแล้วคือทำให้มันวิ่งต่อไปได้ เรียนรู้ที่จะให้มันวิ่งเร็วกว่าเดิม ประคองไว้อย่าให้เครื่องดับ หากเจอเพื่อนร่วมทางที่วิ่งช้ากว่า ให้แนะนำ และช่วยให้เขาวิ่งได้เร็วเท่าเรา เพราะสุดท้ายแล้วก็ทำงานด้วยกันเป็นทีม ทั้งองค์กรก็จะพัฒนาร่วมกันอย่างยั่งยืน ซึ่งจะทำให้คุณได้เจอกับความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่กว่าเดิมแน่นอน Image Designed […]