งาน วิศวกรเคมี และโอกาสในสายงาน

งานวิศวกรเคมี และโอกาสในสายงาน

Engineer Insight

วิศวกรเคมี ทำงานอะไร สมัครงาน วิศวกรเคมี วิศวกรรมเคมี

วิศวกรเคมี กับประสบการณ์ในสายงาน

งาน วิศวกรเคมี นั้นค่อนข้างท้าทาย ประสบการณ์นั้นถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะจะเป็นตัวนำพาคุณไปสู่ความเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านนั้นๆ ตัวอย่างเช่น หากงานในช่วง 5 ปีแรกของคุณไปในสายงานด้านการผลิต โอกาสที่จะเติบโตไปยังตำแหน่งที่สูงขึ้นในสายงานนี้ก็จะเพิ่มขึ้น หรือหากงานใน 5 ปีแรกนั้นเกี่ยวกับการขายสารเคมี โอกาสที่จะเติบโตไปในสายงานการขายและบริการลูกค้า เช่น Sales Manager ก็จะสูงขึ้น ดังนั้น การสมัครงานสำหรับวิศวกรเคมีนั้นสำคัญมาก โดยเฉพาะ “งานแรก”

หลายคนที่เป็น วิศวกรเคมีจบใหม่ หรือทำงานไปสัก 3 ปีแล้วยังรู้สึกสับสนอยู่ว่าตัวนั้นเหมาะ หรือชอบสายงานไหนกันแน่ ส่งผลให้ไม่รู้จะ สมัครงาน ตำแหน่งไหน ให้ลองหาโอกาสได้เรียนรู้เกี่ยวกับสายงานอื่นๆ มากขึ้น เช่น อาจจะลองไปสอบถามเพื่อนๆ ที่ทำงานในสายงานนั้นๆ ว่าเป็นอย่างไร แล้วลองเอาข้อมูลมาเปรียบเทียบดูว่าสายงานไหนจะเป็นไปได้สำหรับคุณมากที่สุด เพราะหากเปลี่ยนแบบหน้ามือเป็นหลังมือ อาจจะทำให้เสียเวลาในการเรียนรู้งานใหม่ แต่ถ้าหากคุณคิดว่าคุ้มกับอายุงานที่เหลือ นี่ก็ไม่ใช่สิ่งที่ผิด

ตัวอย่างรุ่นพี่คนหนึ่ง หลังจากจบวิศวกรรมเคมีก็ได้ไปทำงานเกี่ยวกับด้านความปลอดภัย หรือ HSE (Health, Safety, and Environment) ซึ่งก็ทำในสายนี้มากว่า 8 ปี ย้ายบริษัทไปประมาณ 3 ครั้ง ซึ่งทั้ง 3 บริษัทนั้นเป็นอุตสาหกรรมปิโตรเลียม หลังจากปีที่ 8 ก็ได้ข้อเสนอจากบริษัทค้าปลีกรายใหญ่ให้ไปเป็น Safety Manager ดูแลเรื่องระบบความปลอดภัยของธุรกิจทั้งหมด.. เห็นได้ว่าอุตสาหกรรมปิโตรเลียมกับค้าปลีกนั้นต่างกันโดยสิ้นเชิง แต่ด้วยความเป็นผู้เชี่ยวชาญ หรือ “Specialist” นั้นได้พาให้เค้าเติบโตขึ้นในสายงานนี้ ไม่ว่าจุอุตสาหกรรมอะไรก็ตาม

ทำงานอะไร หางานวิศวกรเคมี

อุตสาหกรรมที่น่าสนใจสำหรับงานวิศวกรเคมี

อุสาหกรรมที่เป็นที่น่าสนใจของ งานวิศวกรเคมี นั้นส่วนใหญ่จะเป็นอุตสากรรมผลิตสินค้าที่มีความต้องการสูงในตลาดโลก ไม่ว่าจะเป็น พลาสติก กระดาษ น้ำมัน และอีกมากมาย รวมไปถึงอุตสาหกรรมที่ผลิตวัตถุดิบสำหรับขบวนการผลิตในอุตสาหกรรมอื่นๆ ซึ่งประเภทอุตสาหกรรมที่น่าสนใจสำหรับวิศวกรเคมีมีดังนี้

  • ไฟเบอร์ พอลิเมอร์
  • อาหาร และเครื่องดื่ม
  • พลาสติก และโลหะ
  • กระดาษ
  • สารเคมี
  • ปิโตรเคมี พลังงาน

แต่ก็มี วิศวกรเคมี อีกหลายคนที่เลี่ยงตัวเองออกจากงานด้านอุตสากรรมไปทางด้านให้คำปรึกษา หรือเรียกว่า Consultancy Firm ซึ่งอาจจะให้คำปรึกษาเกี่ยวกับด้านมาตราฐานต่างๆ การตรวจสอบข้อกำหนด หรือ Standard ต่างๆ การลดการใช้พลังงาน ลดต้นทุนการผลิต รวมถึงการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการผลิต การลงทุนในการผลิต

ความสามารถที่วิศวกรเคมีควรมี

แน่นอนว่าวิศวกรเคมีทุกคนควรมีความสามารถในเนื้อหางานอยู่แล้ว หรือเรียกว่า Technical Skills (Hard Skills) แต่ความสามารถที่จะทำให้คุณเติบโตได้นั้นไม่ใช่แต่ Technical Skills แต่มันคือ Soft Skills ดังนี้

  • ความสามารถในการแก้ไขปัญหา
  • ความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูล
  • ทำงานเป็นทีม และมีความเป็นผู้นำ
  • มีความคิดริเริ่ม (Initiative Idea)
  • ใส่ใจรายละเอียด สำคัญมาก ลองคิดดูว่าหากคุณลืมปิดวาล์วสักตัว ส่งผลให้ขบวนการผลิตระเบิด แล้วถ้ามีปฏิกิริยาเคมีเกิดขึ้น ความรุนแรง และความเสียหายที่เกิดขึ้นจะมากมายขนาดไหน
  • การสื่อสารที่ชัดเจน
  • มีความสามารถในการนำเสนองาน (Presentation Skills)

หลายๆ คนค่อนข้างต่อต้าน และคิดว่า Soft Skills เป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น ซึ่งในสมัยนี้ Soft Skills นั้นถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะจะเป็นตัวที่ทำให้คุณแตกต่างจากคนอื่น และฉายแววความสามารถในการเป็นผู้นำ

หางานวิศวกรเคมีที่ใช่กับ EngieerJob

ในแต่ละเดือนมีบริษัทต่างๆ เข้ามาค้นหา วิศวกรเคมี ในระบบของ EngineerJob จำนวนไม่น้อย อัพเดทโปรไฟล์ของคุณเพื่อเปิดโอกาสรับข้อเสนอดีๆ ได้เลย! ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย

วิศวกรเคมี เรียนต่ออะไรดี

การศึกษาต่อสำหรับวิศวกรเคมีนั้นมีหลายกรณี

  1. ศึกษาด้านวิศวกรรมเคมีต่อ ปริญญาโท และปริญญาเอก สิ่งที่ได้คือคุณจะกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญ งานที่เหมาะคืองานให้คำปรึกษา หรืองานที่ดูแลในด้านที่คุณเชี่ยวชาญไปเลย เช่น ผู้เชี่ยวชาญในด้าน Plant Design, Unit Design and Operation, Process Design อีกหนึ่งโอกาสในสายงานก็คือเป็นอาจารย์ หรือนักวิจัย
  2. ศึกษาปริญญาโทในสาขาอื่น เช่น การเงิน การตลาด เศรษฐศาสตร์ สำหรับข้อนี้คุณต้องมั่นใจแล้วว่าต้องการเปลี่ยนสายงานออกจากด้านวิศวกรรม เช่น ไปเป็นนักวิเคราะห์การลงทุน ผู้บริการกองทุน ทำงานด้านพัฒนาธุรกิจเป็นต้น
  3. ศึกษาปริญญาตรีด้านการบริหารและธุรกิจ สำหรับข้อนี้ จะเหมาะกับวิศวกรเคมีที่มีประสบการณ์มาแล้วระยะหนึ่ง แล้วเห็นโอกาสในการขึ้นไปทำงานในตำแหน่งที่สูงขึ้น เช่น ผู้จัดการ หรือผู้บริหาร การเลือกเรียน MBA ก็อาจจะเกิดประโยชน์กับคุณและองค์กร

วิศวกรเคมีที่จบปริญญาตรีแล้วไปเรียนต่อปริญญาโททันทีต้องมั่นใจแล้วว่าจะเป็นทางเลือกที่ถูกต้อง เพราะหากไปต่อเพราะไม่รู้จะทำอะไร ปริญญาโทก็จะไม่ได้ทำให้คุณเติบโตอย่างก้าวกระโดดในสายงาน การก้าวกระโดดในสายงานวิศวกรรมนั้นจะมาจากประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญเป็นหลัก

วิศวกรเคมีส่วนใหญ่ทำงานอะไรกัน?

สำหรับน้องๆ ที่กำลังเรียนอยู่ หรือเป็นวิศวกรเคมีจบใหม่ อาจสงสัยว่า วิศวะเคมี ทํางานอะไร? จากตารางด้านล่างจะเห็นได้ว่ากว่า 50% ของวิศวกรเคมีทำงานในสายงานวิศวกรรมโดยตรง ซึ่ง 36% ของจำนวนนี้ทำงานเป็นวิศวกรการผลิต (Production Engineer) และวิศวกรกระบวนการ (Process Engineer)

ประเภทงาน สัดส่วน (%)
งานด้านวิศวกรรม 55.6%
งานด้านธุรกิจ และการเงิน 13.3%
งานด้านธุรกิจค้าปลีก และอาหาร 7.2%
งานเกี่ยวกับความเชี่ยวชาญด้านเทคนิค 5.1%
อื่นๆ 18.8%

10% ของวิศวกรเคมีที่จบมานั้นยังว่างงาน ในขณะที่ 18% ของวิศวกรเคมีได้ทำการศึกษาต่อในระดับที่สูงแบบเต็มเวลา

สถานะ สัดส่วน (%)
มีงานทำแล้ว 65.9%
ศึกษาต่อ (เต็มเวลา) 18.3%
ทำงานและศึกษาต่อไปด้วย 2.9%
ว่างงาน 10%
อื่นๆ 2.9%

ตัวเลขสถิตินั้นอ้างอิงมาจากตลาดงานโดยรวมของประเทศในสหราชอาณาจักร เพื่อให้วิศวกรได้เห็นแนวโน้มของประเทศอื่นๆ

ซึ่งใครจะเรียนต่ออะไรนั้น พี่ๆ ที่ EngineerJob แนะนำให้น้องๆ วิศวกรเคมีจบใหม่ ได้ลองทำงานก่อน เพื่อที่จะได้รู้ว่าตัวเองชอบอะไร และไม่ชอบอะไร เพราะหากเลือกเรียนต่อไปเลยทั้งๆ ที่ยังไม่รู้ว่าชอบอะไร อาจจะทำให้เป็นการเสียเวลา และค่าใช้จ่าย ซึ่งสิ่งที่เรียนไปอาจจะไม่ใช่สิ่งที่ตัวเองชอบก็เป็นได้

เมื่อพร้อมจะสมัครงานแล้ว อย่างลืมไป ลงทะเบียนสร้างโปรไฟล์ฟรี กับ EngineerJob เพื่อใช้สมัครงานได้ทั้งเว็บไซต์ และยังเป็นการเปิดโอกาสให้งานที่ใช่ตามหาคุณด้วย!