Google ใช้วิธีนี้ให้อิสระกับวิศวกร เป็นจุดเริ่มต้นของไอเดียเปลี่ยนโลก
Eric Schmidt ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) ของ Google ที่ดำรงตำแหน่งในช่วง 2001-2011 ได้ให้สัมภาสณ์กับ Bloomberg เกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์กรของ Google และเปิดเผยความลับของการบริหารทีม “วิศวกร” ที่ Google Eric Schmidt: “Google เน้นในการให้อิสระกับพนักงานมากๆ แทบจะไม่มีกฎเกณฑ์ อิสระจนขนาดที่ว่าเคยมีกลุ่มวิศวกรหอบผ้ามานอนที่บริษัทเต็มพื้นไปหมด! ก็เลยกลายเป็นอีกกฎของ Google ว่าทุกคนสามารถทำอะไรก็ได้ที่ต้องการ แต่ห้ามนอนที่บริษัท!! พนักงานอยากจะเอาสัตว์เลี้ยงมาด้วยก็ได้ แต่ก็ต้องให้มันอยู่เป็นที่เป็นทาง ซึ่งกฎของสัตว์เลี้ยงมีมากกว่ากฎของพนักงานซะอีก (อมยิ้ม)” Bloomberg: “แล้วเรื่องอาหารฟรีที่เป็นที่พูดถึงอยู่บ่อยๆ ล่ะ? จุดประสงค์ของอาหารฟรีคืออะไรกันแน่?” Eric Schmidt: “เหตุผลสำคัญคือ เรามีไอเดียที่ว่า ครอบครัวกินข้าวด้วยกัน และเราอยากให้บริษัทเป็นเหมือนครอบครัว ซึ่งเราคิดว่าถ้าพนักงานมีอาหารดีๆ ทุกมือ เค้าก็จะได้ใช้เวลากินด้วยกันมากขึ้น ซึ่งการทำงานกันเป็นทีมก็จะดีขึ้นไปด้วย ซึ่ง Google ก็มีอีกหนึ่งคอนเซ็ปเรียกว่า “20% time” ซึ่งจะใช้กับพนักงานหลายๆ ตำแหน่ง โดยเฉพาะวิศวกร [เพิ่มเติม] Larry Page เจ้าของคอนเซ็ปได้กล่าวไว้ว่า เราอยากให้พนักงานใช้เวลา 20% ของเวลา รวมถึงเวลาในการทำโปรเจคต่างๆ คิดเกี่ยวกับอะไรก็ได้ที่เขาคิดว่าจะสร้างประโยชน์ให้ Google ซึ่งคอนเซ็ปนี้คือการให้พื้นที่ในส่วนของความคิดสร้างสรรค์สำหรับนวัตกรรมใหม่ๆ ..หลายๆโปรเจคที่ประสบความสำเร็จของ Google […]
6 สัญญาณ ที่แสดงถึงทีมวิศวกรที่ไร้คุณภาพ
การทำงานเป็นทีม แน่นอนว่าผลลัพธ์นั้นก็ย่อมมีผลกระทบต่อทุกคนในทีม โดยเฉพาะผู้นำ หรือหัวหน้างาน เพราะจะเป็นตัวชี้ว่าคุณมีคุณสมบัติในการนำลูกทีมได้ดีแค่ไหน และลูกทีมมีความสามารถที่จะร่วมงานกับทีมได้มากแค่ไหน ซึ่งกว่างานจะสำเร็จก็เป็นธรรมดาที่จะต้องเจอปัญหามากมาย หากทีมงานของคุณมีคุณภาพก็จะสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆได้ แต่หากบางทีมที่ยังหาทางออกไม่ได้ก็ไม่ใช่ว่าจะเป็นทีมงานไร้คุณภาพเสมอไป 6 ข้อนี้จะเป็นจุด “Check Point” ข้อบกพร่องที่หลายๆ คนอาจเคยเจอ ซึ่งจะบอกว่าทีมงานของคุณนั้นมีคุณภาพพอหรือไม่.. 6 ต่างคนต่างเดิน ลูกทีมแต่ละคนอาจจะยังมีความคิดเห็นไม่ตรงกัน ซึ่งอาจจะยังไม่เข้าใจถึงจุดประสงค์หลักของงาน หรือมีความคิดเห็นที่แตกต่างไปจากที่หัวหน้าทีมคิด จึงทำให้ไม่มีแรงผลักดันในการทำงานนั้นๆ การที่สมาชิคในทีมไม่เปิดใจรับฟังความเห็นของหัวหน้า หรือหัวหน้าไม่รับฟังความเห็นของลูกทีม เป็นปัญหาหลักของปัญหานี้ ควรเปิดโอกาสให้กันและกัน และหากิจกรรมทำร่วมกันเพื่อจะได้สนิทแล้วเข้าใจกันมากขึ้น 5 ตัดสินใจไม่ได้ หากสมาชิคในทีมยึดติดกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งในขั้นตอนการตัดสินใจมากเกินไป จะทำให้การตัดสินใจไม่เฉียบขาด และไร้ประสิทธิภาพ ซึ่งสิ่งๆ นั้นอาจจะถูกผลักดันมาจากทางหัวหน้าทีมอยู่ซ้ำๆ เช่น “ถ้าพลาดคุณโดนไล่ออกนะ” จึงทำให้ลูกทีมยิ่งเครียด และกลัวที่จะตัดสินใจ อีกสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้ตัดสินใจไม่ได้คือการที่ลูกทีมมีข้อมูลไม่เพียงพอ การเสนอข้อมูลใหม่ๆ หาข้อมูลที่เป็น Secondary Data หรือ Case Study ใหม่ๆ จะทำให้ลูกทีมได้ลองคิดนอกกรอบแทนที่จะย้ำคิดย้ำทำอยู่ในจุดเดิมๆ 4 สื่อสารไม่ได้เรื่อง การสื่อสารนั้นแทบจะถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการทำงานเป็นทีมเลยก็ว่าได้ จุดที่เป็นปัญหาของทีมส่วนใหญ่คือ . สื่อสารมากเกินไป: ในช่วงเวลาประชุม สิ่งที่สำคัญพอๆกับการพูดถึงปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น คือขั้นตอนการการฟัง และคิด หากต่างคนต่างแย่งกันพูด จะทำให้จบการประชุมไม่ลง […]
7 กฎเหล็กในการบริหารวิศวกรให้มีคุณภาพ
การบริหารทีมวิศวะกรไม่ใช่เรื่องง่ายๆ อย่างที่หลายคนคิด วิธีการบริหารแบบทั่วไปอาจจะไม่ได้ผลเท่าที่ควร ยิ่งไปกว่านั้น อาจจะทำให้พวกเขารู้สึกเบื่อ และเซ็งกับงานมากขึ้นกว่าเดิม การบริหารบุคลากรด้านวิศวกรรมจึงจำเป็นต้องมีเทคนิคเล็กๆ น้อยๆ ที่คุณก็สามารถปรับใช้ได้จริง 1 ตั้งเป้าหมายเสร็จแล้วอยู่ห่างๆ วิศวะไม่ชอบให้ใครมาจัดการ จู้จี้ จุกจิก หรือมาสั่งว่าต้องทำอย่างงั้น ต้องทำอย่างงี้กับงานที่เขารับผิดชอบ คุณควรให้อิสระกับความคิดของเขา และการวางแผนในงานของเขาเอง สิ่งที่คุณควรทำเพื่อให้บรรลุเป้าหมายก็คือ ให้จุดเป้าหมาย จุดประสงค์ และ Scope ของงาน ที่ชัดเจน ให้เครื่องมือที่เขาสามารถใช้ให้งานไปถึงเป้าหมายนั้น และการ Training ที่ดี (ไม่ใช้การสั่ง แต่เน้นเป็นการ Coaching) *สำคัญมาก 2 ปล่อยให้ได้ลอง อย่าตีกรอบ การมีความคิดสร้างสรรค์ หรือไอเดียใหม่ๆ เป็นสิ่งที่ดี ดังนั้นการที่เขามีความคิดริเริ่ม หรือไอเดียอะไรที่ดูเข้าท่า อย่าปิดกั้นความคิดเหล่านั้น ปล่อยให้เขาได้ลองใช้ไอเดียพัฒนางานที่เขารับผิดชอบ 3 ทำความรู้จักกับเขาให้มากขึ้น การที่คุณได้คุยกับทีมงานเกี่ยวกับเรื่องทั่วไปที่นอกเหนือไปจากงาน เป็นการทำให้คุณได้รู้จักนิสัยส่วนตัวของคนๆ นั้นมากขึ้น ซึ่งจะทำให้การทำงานง่ายขึ้นไปอีกด้วย เพราะกำแพงระหว่างคนสองคนจะลดน้อยลง และเขาจะกล้าที่จะเสนอไอเดีย หรือออกความเห็นกับคุณได้ชัดเจนยิ่งขึ้น 4 เล่นกับจุดแข็ง คนเรามักจะมีจุดอ่อน และจุดแข็งของตัวเองเป็นธรรมดา แต่สำหรับวิศวะแล้ว คุณจะต้องหาจุดแข็งของเขาให้เจอ ซึ่งก็คือต้องทำความรู้จักับเขาให้มากขึ้นตามที่ได้กล่าวไป หากคุณไม่สามารถเล่นกับจุดแข็งของเขาได้ […]